Friday, November 04, 2005

ลองทำข้อสอบคุณ Kickoman : )

ใครก็ตามที่ได้ เยี่ยมชม Blog ของคุณ Kickomanแล้ว คงอดไม่ได้ที่จะแวะเวียนเข้ามาเยี่ยมเยียนอีกเป็นครั้งสอง ครั้งสาม ... เรื่อยไปไม่มีที่สิ้นสุด !

ผมก้อเป็นหนึ่งที่ติดใจใน Blog นี้อย่างถอนตัวไม่ขึ้น จนต้องพยายามฝืนใจ ไม่เข้าไปดูมันซะเลยเป็นเวลาหลายสัปดาห์

วันนี้ตัดใจแวะเข้าไปดู เจอเรื่องสนุกอย่าง Daylight Saving Time และอ่านต่อไปเจอข้อสอบเศรษฐศาสตร์(การเงินระหว่างประเทศ) อ่านแล้วก้อเกิดอาการอยากตอบขึ้นมา

...ขอใช้พื่นที่ของตัวเองตอบละกัน

ตอนนี้ขอลอกโจทย์ที่อาจารย์ Kickoman ให้มาก่อน...

โจทย์มีอยู่ว่า


" ถ้าท่านเป็นผู้กำหนดนโยบาย (ไม่ต้องเป็นรัฐมนตรีคลัง หรือผู้ว่าแบงค์ชาติก็ได้นะครับ เป็นนายกฯก็ได้) ของประเทศกำลังพัฒนาประเทศหนึ่ง ประเทศของท่านใช้นโยบายอัตราแลกเปลี่ยนแบบคงที่ เงินตราไหลเข้าออกประเทศได้สบายๆ และประเทศของท่านก็กำลังเป็นที่สนใจของนักลงทุน ทุนนอกไหลเข้าแบบสนุกสนาน(คิดถึงประเทศเอเชียก่อนวิกฤตไว้ครับ)

ด้วยความที่เป็นประเทศกำลังพัฒนาแบบร้อนแรง การบริโภคและการลงทุนก็เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว การนำเข้าก็สูงขึ้น (ทั้งการนำเข้าสินค้าบริโภค และสินค้าวัตถุดิบ) แต่การส่งออกเริ่มแย่ลง เพราะค่าแรงงานของประเทศท่านเริ่มสูง ความสามารถทางการแข่งขันเริ่มสู้ประเทศแรงงานถูกไม่ได้ซะแล้ว ส่งผลให้ทุนบัญชีเดินสะพัดของประเทศของท่านขาดดุลแบบน่ากลัว (เอาแบบมากกว่าร้อยละสิบของผลผลิตมวลรวมประชาชาติเลย)

ด้วยความจำเป็นบางประการ คุณไม่สามารถใช้นโยบายปิดกันทุนนอกได้ นโยบายอัตราแลกเปลี่ยนก็เปลี่ยนไม่ได้ ต้องคงค่าไว้อย่างนั้น

คำถามข้อแรก...ในฐานะที่คุณเป็นรัฐบาล คุณจะทำอย่างไรในระยะสั้น เพื่อลดความเสี่ยงที่เกิดจากการขาดดุลบัญชีเดินสะพัด ที่อาจนำไปสู่วิกฤตการณ์ทางการเงินได้"


โดยธรรมชาติของตัวผม ..ผู้เชื่อมั่นอย่างสนิทใจในกลไกตลาดเสรี ว่ามีความสามารถในการจัดสรรทรัพยากรให้เกิดประโยชน์สูงสุด ผมแทบจะไม่กังวลใจสักนิดเลยว่า นี่จะเป็นปัญหาอย่างไร เพราะในที่สุด "ตลาด" มันก้อจัดการได้เอง

กังวลไปใยกับปัญหาการขาดดุล ในเมื่อการขาดดุลที่เกิดขึ้นเป็นเพียงปรากฎการณ์ระยะสั้น และเป็นเพียงส่วนหนึ่งของงบประมาณที่จะต้องได้ดุลในมูลค่าปัจจุบันเสมอ ... การขาดดุลในวันนี้ ส่งสัญญาณให้เรารู้ว่า จะมีการเกินดุลในอนาคต นั่นเอง

หากประเทศเราใช้ระบบอัตราแลกเปลี่ยนคงที่ การขาดดุลการค้าอย่างต่อเนื่องจะทำให้เกิดการไหลออกของเงินสำรองระหว่างประเทศ ... สิ่งที่เกิดขึ้นนี้เป็นผลพวกที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้

หากการขาดดุลการค้านั้นมีสาเหตุมาจากการที่ประเทศเรามีต้นทุนการผลิตสูงกว่าประเทศอื่น จนทำให้ขาดความสามารถในการแข่งขันในคลาดโลก แล้วไซร้ เราก็คงทำอะไรไม่ได้นอกจากปล่อยให้เงินสำรองระหว่างประเทศร่อยหรอลงไป จนรัฐบาลไม่มีทางเลือกอื่นใดเหลือนอกจากประกาศลดค่าเงิน

เมื่อค่าเงินถูกปรับลด ให้สะท้อนพื้นฐานทางศรษฐกิจของประเทศมากยิ่งขึ้น ย่อมมีผลต่อดุลการค้า ดังที่ทราบกันดีว่า เมื่อค่าเงินอ่อนลง สินค้านำเข้าจะมีราคาสูงขึ้น เพราะราคาขายในประเทศนั้นถูกปรับตามค่าเงินใหม่ ในขณะที่ราคาส่งออกสู่ตลาดโลกจะราคาถูกลง ผลโดยสุทธิคือ การนำเข้าจะลดลงและการส่งออกจะมากขึ้น ดุลการค้าและดุลบัญชีเดินสะพัดจะดีขึ้น

ผมพอใจกับทางออกนี้ เพราะเชื่อว่า ทางเลือกอื่นมีแต่จะทำให้ปัญหาเลวร้ายลงกว่าที่ควร และยังอาจทำให้เกิดการบิดเบือนทางเศรษฐกิจด้วยซ้ำ

ไม่เชื่อนั่ง Time Machine กลับไปตอนช่วงก่อนปี 1997 สิครับ

5 Comments:

At 2:38 AM , Blogger kickoman said...

เห็นด้วยกับคำตอบคุณ corgiman ครับ แต่ลองอ่านข้อสองต่อหน่อยสิครับ ว่าจะตอบเหมือนเดิมหรือเปล่า

http://kickoman.blogspot.com/2005/11/blog-post.html

=)

 
At 1:27 PM , Anonymous Anonymous said...

มีคำถามทางด้านการบริหารจัดการบ้างมั้ยคะ โดยเฉพาะการบริหารจัดการองค์กรและทรัพยากรมนุษย์ให้เกิดประสิทธิภาพและประโยชน์สูงสุดค่ะ เผื่อจะตอบคำถามกะเค้าได้บ้างน่ะค่ะ อันนี้ มันค่อนข้างจะวิชาการไปหน่อย แต่ก้อสนุกดี ช่วยทำให้นึกถึงสมัยเรียนเศรษฐศาสตร์เล็กน้อยค่ะ แต่ไม่ได้เป็น ดร เศรษฐศาสตร์นะคะ

 
At 8:58 PM , Blogger Bikku said...

ตามลิงก์คุณ Kickoman มาน่ะครับ...

ผมก็เชื่อว่ากลไกตลาดสามารถที่จะทำหน้าที่ของมันได้ครับ
แต่ทว่า ระหว่างที่มันนำพาเศรษฐกิจกลับมาสู่จุดปลอดภัย
ในประเทศที่กำลังพัฒนา มันจะมีผลกระทบต่อคนรวยคนจน
ในแง่ที่ไม่ค่อยยุติธรรมหรือเปล่าครับ (เช่นล้มบนเบาะ
หรือ มีคนวงในรู้เืรื่องรัฐลดค่าเงินก่อนคนอื่น)
...อย่างงี้ทำไงดีครับ

 
At 2:31 AM , Blogger The Iconoclast's Journey said...

เเค่สงสัยนะครับว่าในระยะสั้นถ้ารัฐปล่อยให้กลไกของตลาดในระบบเสรีดำเนินไปในตัวของมันเอง มันจะกินเวลาเท่าไหร่ คำว่าระยะสั้นกับระยะยาวเเม้เเต่นักเศรษฐศาสตร์ที่เก่งๆ ผมยังว่าเค้ายังไม่กล้าฟันธงกันสักเท่าไหร่ แล้วถ้าเกิดระยะสั้นกินเวลาสัก 5 ปี กว่าที่จะทำให้ระบบเศรษฐกิจกลับมาสู่ดุลอีกครั้ง แล้วในระยะทางจากจุดเริ่มต้นไปสิ้นสุดในปีที่ห้า ประชาชนในประเทศจะปรับตัวกันอย่างไร ก็พอทราบมาบ้างว่าภาคประชาชนก็อาจจะต้องปรับตัวบริโภคสินค้าน้อยลงบ้าง เร่งพัฒนาฝีมือการผลิตให้มีต้นทุนต่ำเเต่ได้ระดับคุณภาพเป็นที่ยอมรับ ภาคธุรกิจก็คงต้องปรับการบริหารการใช้จ่ายลงทุนให้รอบคอบขึ้น อาจจะมีการชะลอการลงทุน ลดการจ้างงาน แล้วระหว่างนี้รัฐไม่ควรที่จะทำอะไรสักอย่างเพื่อเป็นการบรรเทาทุกข์ของคนในประเทศเลยหรือ อันนี้เเค่ถามเล่นๆนะครับอาจารย์

 
At 11:29 AM , Blogger The Corgiman said...

เรื่องล้มบนฟูก หรือหน้าเหลี่ยมรู้ข่าวลดค่าเงินก่อนคนอื่นนั้น มันเป็นปัญหาที่เกิดจากความไม่สมมาตรทางสารสนเทศ หรือการที่ระบบเศรษฐกิจเราไม่มีกติกา หรือlegal infrastructure ที่ครบถ้วนเพียงพอ ตรงนี้เป็นส่วนของความไม่สมบูรณ์ในตลาด แน่นอนครับ เราจะคาดหวังให้กลไกตลาดจัดสรรทรัพยากรให้ดีระดับ optimal คงเป็นไปไม่ได้

หากเป็นเช่นนั้นแล้ว การใช้นโยบายเศรษฐกิจแก้ปัญหาก้อจะลำบากยิ่งขึ้นไปอีก เพราะเราจะรู้ได้อย่างไรว่า เราจะไม่สร้างปัญหาเพิ่ม แทนที่จะแก้ปัญหา
อย่างที่ผมบอกไว้น่ะครับ ปี 1997 เป็นตัวอย่างที่ดี พยายามแก้กันแบบตามสภาพ โดยที่โครงสร้างหรือ infrastructure ไม่ได้รับการแก้ไขปรับปรุง (เช่น ก.ม. ล้มละลาย) สุดท้ายเราก้อเรียกมันรวมๆว่าเป็น policy mismanagement

 

Post a Comment

Subscribe to Post Comments [Atom]

<< Home