It Was Twenty Years Ago Today...: Part II
ธันวาคม 1994...
บ็อบ เกลดอฟตั้งเป้าไว้ว่า ซิงเกิ้ล "Do They Know It's Christmas?" น่าจะทำยอดขายได้ราว 72,000 ปอนด์ แต่ทว่ากระแสตอบรับจากสาธารณชนนั้นแรงเกินกว่าที่เขาคาดไว้ ยอดขายได้ทะลุเป้า 72,000 ปอนด์ แทบจะในทันทีที่แผ่นวางตลาด ซิงเกิ้ลนี้ขาดได้ทั้งสิ้น สามล้านแผ่น และได้กลายเป็นซิงเกิ้ลที่ขายดีที่สุดตลอดกาลของอังกฤษ เมื่อรวมกับยอดขายในประเทศอื่นๆทั่วโลกแล้ว "Do They Know It's Christmas?" ทำเงินได้ทั้งสิ้นเป็นเงิน แปดล้านปอนด์
การเคลื่อนไหวของ Band Aid ส่งผลกระทบข้ามไปยังอีกฟากฝั่งของมหาสมุทรแอตแลนติกด้วย ศิลปินอเมริกันต่างพากันมารวมตัวออกเพลงมาร่วมซับน้ำตาชาวแอฟริกันกับเขาด้วย โดยตั้งชื่อกลุ่มการเคลื่อนไหวนี้ซะเท่ห์ระเบิด(จริงๆแล้ว เห่ยสุดๆ)ว่า "USA for Africa" ซิงเกิ้ลที่ทางฝั่งอเมริกาออกมานั้นชื่อว่า "We Are The World"
ซิงเกิ้ลนี้ได้รับความนิยมและประสบความสำเร็จในเชิงพาณิชย์มากกว่า "Do They Know It's Christmas?" นั่นเป็นเพราะว่าศิลปินในฟากฝั่งอเมริกันที่เข้าร่วมร้องในเพลงนี้นั้น เป็นที่รู้จักกันทั่วโลกมากกว่ากลุ่ม Band Aid
แต่ในทางคุณภาพของงานเพลงแล้วนั้น "Do They Know It's Christmas?" เต็มเปี่ยมกว่า ทั้งยังให้สัมผัสแห่งพลัง และการเรียกหา Public Awareness ที่มี staying power อยู่จวบจนถึงทุกวันนี้ (ตรงกันข้ามกับ "We are the world" ที่ผมกลับรู้สึกสะอิดสะเอียนทุกครั้ง ที่นึกภาพ ไมเคิล "ตุ๋ย" แจ็คสัน ร้องท่อน "We are the world. We are the Children" )
....
มีนาคม 1995
อาหารและยารักษาโรคล็อตแรกที่ซื้อหาด้วยเงินจากการขายแผ่น "Do They Know It's Christmas?" ถูกจัดส่งไปยังเอธิโอเปีย ผลงานชิ้นแรกอันเป็นรูปธรรมที่สุดจากความพยายามของสองคู่หู เกลดอฟ และยัวร์ ความช่วยเหลือจากแหล่งต่างๆ ทั้ง USA for Africa , Northen Lights จากแคนาดา และที่อื่นๆ เริ่มทยอยตามมา แต่เกลดอฟ คิดว่ามันยังไม่เพียงพอ..
เขาเริ่มดำเนินการในโครงการต่อไปทันที นั่นคือโครงการคอนเสิร์ท สองฟากมหาสมุทรแอทแลนติส ที่ชื่อว่า "Live Aid"
...
13 กรกฎาคม 1995
สนามกีฬา เวมบลีย์ในกรุงลอนดอน
เมกกะแห่งสังเวียนลูกหนังโลก ในวันนี้ นั้นคราคร่ำไปด้วยฝูงชนนับแสน ที่มารวมตัวกัน เพื่อเป็นส่วนหนึ่งของมหกรรมดนตรีครั้งประวิัตศาสตร์
เมื่อนาฬิกาเดินผ่านเวลาเที่ยงวัน คอนเสิร์ท Live Aid ก็ได้ฤกษ์ เปิดการแสดง โดยในอีกสามชั่วโมงข้างหน้า เวทีที่สนาม JFK ในเมืองฟิลาเดลเฟีย ประเทศสหรัฐฯ ก็จะเริ่มเปิดการแสดงตาม ประชาชนจะได้ชมคอนเสิร์ทที่เล่นพร้อมกันในสองทวีป มหกรรมคอนเสิร์ทนี้ได้มีการถ่ายทอดไปยังหลายประเทศทั่วโลก (ซึ่งแน่นอน ไม่รวมประเทศไทยของเรา) และมีการเรียกร้องให้ผู้ชมช่วยกันโทรเข้ามาร่วมบริจาคเงินเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยในเอธิโอเปีย ตลอดการแสดง ในลักษณะของความพยายามที่จะ ระดมเงินบริจาคให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ก่อน มหกรรมคอนเสิร์ทนี้จะจบลงในค่ำคืนของวันที่ 13 กรกฎาคมนี้
คงไม่มีเพลงร็อคใด จะมีความเหมาะสมกับเพลงเปิดมหกรรมคอนเสิร์ทนี้มากไปกว่า เพลง "Rocking All Over The World" ของวง Status Quo อีกแล้ว เบสิคร็อคแอนด์โรล สามคอร์ด เล่นกันแบบดิบๆด้วย กีต้าร์ เบส และกลอง เสริมด้วยเสียงเปียโน ที่ให้อารมณ์ย้อนยุคกลับไปสู่สมัย Bill Harley และ Chuck Berry ต้นตำหรับดนตรีร็อคแอนด์โรล แบบดั้งเดิม..นี่คือบทโหมโรงจากวงร๊อคที่กล้าตกยุคสมัย ไม่เคยโอนอ่อนตามกระแสดนตรีที่เปลี่ยนไปแม้แต่น้อย ทุกวันนี้พวกเขายังคงเล่นเพลงร็อคแบบเดิมของเขาอยู่....
แต่ละวงที่ขึ้นเล่นมีเวลาประมาณ 17 นาที ที่จะสร้างความบันเทิงให้กับผู้ฟัง
Stlye Council ขึ้นเวทีเป็นวงที่สอง Paul Weller นิวเคลียสของวง โยนภาพลักษณ์เดิมของ พังค์หนุ่มผู้เกรี้ยวกราดแห่งวง The Jam มาในลุคที่ลำลองแบบมีสไตล์ พร้อมกับคู่หู Mick Talbot เจ้าของเสียงออร์แกนอันเป็นเอกลักษณ์ของวง
แนวเพลงของวงนี้เป็นอย่างชื่อที่ตั้งจริงๆ การผสมผสานที่ลงตัวของ ป็อป ร็อค แจ็ส โซล และบลูส์ เพลงที่วงนำมาเล่นในงานนี้ชวนให้ขยับแข้งขยับขาเต้น ไปตามจังหวะ และเสียงเครื่องเป่าที่เร้าใจ แต่ที่ปลุกเร้าใจไม่แพ้กันก็คือ เนื้อเพลงที่เรียกร้องเสรีภาพ ความเท่าเทียม และการร่วมแรงก่อการปฏิวัติ
"If you lay no blame to the feet of next door
And realize this struggle is also yours
And without the strength of us all together
The world as it stands will remain forever
Then take this challenge and make it exist!
Rise up as an Internationalist!..
If your eyes see deeper than the colour of skin
Then you will also see we are the same within
And the rights you expect are the rights of all
Now it's up to you to lead the call
The liberty must come at the top of the list
Stand proud as an Internationalist!..."
(Internationalists)
Weller เปลี่ยนเพียงภาพลักษณ์ของเขาในการนำเสนอบทเพลง แต่ตัวตนยังเป็นเช่นเดิมเหมือนสมัยอยู่ The Jam เขาตอกย้ำจุดยืนด้วย Walls come tumbling down บทเพลงต่อต้านสังคมอังกฤษในขณะนั้น ที่พรรคอนุรักษ์นิยมยึดครองบ้านเลขที่ 10 ถนนดาวนิ่ง เป็นแหล่งพำนักถาวร (ในบทเพลงนี้ Weller ใช้คำเรียกว่า Public Enemy number 10)
"You don't have to take this crap
You don't have to sit back and relax
You can actually try changing it
I know we've always been taught to rely
Upon those in authority
But you never know until you try
How things just might be
If we come together so strongly
Are you gonna try and make this work
Or spend your days down in the dirt
You see things can change
YES and walls can come tumbling down!"
(Walls come tumbling down)
เชื้อไฟถูกโหมให้ลุกโชนขึ้น เมื่อ Man of the moment บรุษผู้ก่อกระแสการเคลื่อนไหวในครั้งนี้เดินขึ้นเวทีพร้อมกับ แบนด์ของเขา
บ็อบ เกลดอฟ กับวง Boomtown Rats ขึ้นแสดงเป็นวงที่สาม ฝูงชนที่ยัดทะนานเข้ามาเต็มความจุของสนามเว็มบลีย์ ส่งเสียงต้อนรับวีรบุรุษของพวกเขากันอย่างกึกก้อง
เกลดอฟ เป็นชายหนุ่มร่างสูงโปร่ง รูปหน้ายาวไม่แพ้ รุด ฟานนิสเตอรอย ศรีษะเขาปกคลุมด้วยผมเผ้าที่ยาวและยุ่งเหยิง ด้วยรูปลักษณ์ของหนุ่มมาดเซอร์ ใครจะไปเชื่อว่า นี่คือ บุคคลที่ลุกขึ้นมาปลุกระดม และเป็นศูนย์กลางของการเคลื่อนไหวที่เริ่มต้นจากเดือนพฤศจิกายนปีก่อนหน้า
เพลงฮิตที่สุดของวง "I don't like Mondays" ถูกนำมาเล่นเป็นเพลงแรก บทเพลงที่มีเมโลดี้สุดไพเราะ และดนตรีสุดอลังการ เริ่มจากเสียงเปียโนที่ปูพรม ช่วยขับเสียงร้องของเกลดอฟให้โดดเด่นยิ่งขึ้น เนื้อร้องที่บรรยายโศกนาฏกรรมในประเทศอังกฤษ ต้นยุค 80 ค่อยๆพรั่งพรูจากปากของเกลดอฟ
"The silicon chip inside her head get switched to overload
And nobody's gonna go to school today, she's gonna make them stay at home..."
ไม่มีใครคิดว่า เด็กผู้หญิงวัยสิบหกผู้แสนเรียบร้อย บริสุทธิ์ จะพกพาปืนของผุ้เป็นพ่อ ไปไล่ยิงเพื่อนฝูงที่โรงเรียน เพียงเพราะว่า เธอไม่ชอบ "วันจันทร์" และไม่อยากจะให้ใครไปโรงเรียนในวันนี้
"Tell me why. I don't like Mondays.
Tell me why. I don't like Mondays.
I wanna shoot the whole day down."
แม้ว่าเนื้อเพลงจะแฝงด้วยความรุนแรง และเรื่องราวน่าสลด แต่พลังของเกลดอฟที่แสดงออกมานั้น น่าเกรงขามยิ่งกว่า ภาพบ็อบ เกลดอฟ ยืนนิ่งชูกำปั้นขึ้น เมื้อสิ้นสุดเนื้อร้องท่อน "And the lesson today is How to die!" สะกดฝูงชนในเวมบลีย์ให้นิ่งไปชั่วขณะ ก่อนจะระเบิดเสียงเฮ สนั่นตามมา
....
ภาพของเขาในตอนนั้นดู Larger than life จริงๆ...
5 Comments:
เจ๋งมากครับ
ที่แท้ก็ผันตัวเองจาก rocker มาเป็น blogger นี่เอง ...
It was four years ago, tomorrow. ... สอบอีกแล้วครับ'จารย์
D kha Ajarn, long time no see (an talk) naka. I heard that you left TU, so sad to hear that na.
Please forward my best regards to P' Li and Nong~ Wan for me naka.
รออ่าน Live Aid นะคะ
อยากฟังความเห็นของนักเศรษฐศาตร์
เมื่อเช้าดูข่าว
บางข่าวตั้งคำถามว่าจริงๆ เราควรช่วยเหลืออัฟริกาไหม
เพราะกลุ่มประเทศอัฟริกา เป็นกลุ่มประเทศที่มีคอร์รัปชั่นมากที่สุด
แต่ใน Live 8 นี่อยากดู Coldplay
กับ The Who มาก ว่าจะหาดูย้อนหลังในเน็ท
ใช่ วิ้ว รึเปล่า ครับ
ถ้าใช่ก้อช่วยอีเมล์ มาที่ corgiman@mac.com หน่อยสิครับ
Post a Comment
Subscribe to Post Comments [Atom]
<< Home